จริยธรรมในการขายออนไลน์
จริยธรรมทางการตลาดออนไลน์
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีช่องทางในการเข้าใช้งานได้ง่ายขึ้น ผลของการพัฒนา ส่งผลให้มีการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการทำธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจทาง e-commerce ซึ่งมีการทำธุจกิรประเภทนี้กันอย่างเเพร่หลาย ทำให้มีเกิดผลทั้งด้านบวกเเละด้านลบในการเเสวงหาผลประโยชน์จากทำธุรกิจออนไลน์ ดังนั้นการหาประโยชน์จากทางใดทางหนึ่ง จึงต้องเกี่ยวข้องกับการมีจรรยาบรรณเเละจริยธรรมซึ่งการมีจรรยาบรรณเเละจริยธรรมนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการปลูกฝังให้กับผู้ที่ประกอบธุรกิจออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านี้มีการทำธุจกิจที่เเสวงหาประโยชน์อย่างเหมาะสมเเละสร้างสรรค์ มิใช่จะหาประโยชน์ที่มิชอบอย่างเดียว
จริยธรรม
1.ความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยข้อมูลที่เผยเเพร่จะต้องมีความเชื่อถือได้ เเละเป็นที่ยอมรับในการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ความเชื่อถือได้ของระบบองค์กร เเละความเชื่อถือได้ของชนิดของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
2.ความโปร่งใส (Transparency) ข้อมูลที่มีอยู่จะต้องมีความโปร่งใสอย่างสูงสุด เช่น ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลทะเบียนการค้า หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รายละเอียดสินค้า รายละเอียดค่าใช้จ่าย รูปเเบบเเละเงื่อนไขการชำระเงิน ระยะเวลาการจัดส่งสินค้า การรับประกันสินค้า กฏหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรม เป็นต้น
3.ความลับเเละความเป็นส่วนตัว (Confidentiality and Privacy) ต้องมีการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ข้อมูลส่วนตัวบุคคลต้องเก็บเป็นความลับ เเละนำไปใช้เมื่อได้รับการยินยอมจากอีกฝ่ายเท่านั้น มีมาตรการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ เเละมีการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทาปัญญา
จริยธรรมทางธุรกิจสารสนเทศ
หลักเกฑ์ในการประพฤติตนร่วมกันในการทำธุจกิจออนไลน์ โดยบุคคลต้องประพฤติปฏิบัติตนตามเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นเเละความพึงพอใจในการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน การดำเนินธุรกิจออนไลน์ เมื่อมีกลุ่มคนจำนวนมากทั้งในเเละนอกประเทศในการติดต่อซื้อขายกัน ย่อมทำให้เกิดการฉ้อโกง การหลอกลวง หรือการนำเสนอให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริง จริยธรรมทางธุจกิรออนไลน์จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามเเนวทางที่ดี ที่ถูกต้อง เเละเกิดปัญหาในการซื้อขายกันน้อยที่สุดหากบุคคลเเต่ละคนนั้นปฏิบัติตามจริยธรรมที่กำหนดไว้
ตัวอย่างจริยธรรมในการทำธุรกิจออนไลน์
1.ขายสินค้าบริการในราคายุติธรรมเเละตรงตามคุณภาพที่ระบุไว้
2.ละเว้น การกลั่นเเกล้ง ให้ร้ายป้ายสี ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม
3.ควรตรงไปตรงมาชัดเจนเเน่วเเน่น
4.ไม่ละเมิดสิทธิทางปัญญาของบุคลลอื่น
5.ไม่ส่งสเเปมเมลล์หรือจดหมายอิเล้กทรอนิกส์ขยะ เพื่อสร้างความรำคาญให้เเก่ผู้รับ
6.ต้องไม่สอดเเนมหรือเเก้ไขดูเเฟ้มของผู้อื่น
7.ไม่เปิดเผยหรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต
8.ต้องทำการลงทะเบียนการค้าพาณิชย์เเละเสียภาษีร้านค้าให้ถูกต้อง
9.ต้องตรวจสอบสินค้าที่นำเสนอ ว่าต้องเป็นสินค้าที่ถูกต้องตามกฏหมาย ส่วนผสมในตัวผลิตภัณฑ์ต้องไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้ มี อย. กำกับสินค้า เเละมีการนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้อง ไม่ปลอมเเปลงหรือคัดลอกสินค้าจากผู้อื่น
10.ต้องทำการระบุรายละเอียดสินค้าให้ชัดเจน พร้อมระบุด้วยว่าสินค้านี้พร้อมขายหรือไม่ ต้องนำเสนอตามคุณภาพเเละสรรพคุณตามสินค้าที่เเท้จริง ไม่มีการตกเเต่งหรือรีวิวผลลัพธ์ของสินค้าเกินจริง
11.จะต้องมีระบบการเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการถูกลักลอบนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
12.ต้องตรวจสอบเเละพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความเเน่ใจในตัวสินค้าก่อนส่งมอบ
13.ไม่หลอกลวงลูกค้าด้วยการส่งสินค้าที่ผิดแปลกไปจากที่ตกลงกันไว้ เเละไม่ส่งสินค้าของปลอมเเล้วหลอกลวงว่าเป็นของเเท้ให้กับลูกค้า
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายออนไลน์
จากประกาศราชกิจจานุเบกษา ที่เผยแพร่ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2560 เป็ ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 44 พ.ศ. 2560 เรื่องการแสดงราคาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าและบริการ ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือออนไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสในการเปรียบเทียบ ราคาหรือค่าบริการก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ (๕) มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ จึงออกประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงราคาจำหน่าย ค่าบริการ รวมถึงประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด น้ำหนัก และรายละเอียดของสินค้าหรือบริการ โดยการเขียน พิมพ์ หรือกระทำให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่นใดในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบออนไลน์ของผู้ประกอบธุรกิจนั้น ในลักษณะที่ชัดเจน ครบถ้วน เปิดเผย สามารถอ่านได้โดยง่าย การแสดงราคาจำหน่ายสินค้า ค่าบริการตามวรรคหนึ่ง ให้แสดงราคาต่อหน่วย ราคาหรือค่าบริการนั้นจะมีตัวเลขภาษาใดก็ได้ แต่ต้องมีตัวเลขอารบิคอยู่ด้วย สำหรับข้อความหรือรายการที่แสดงควบคู่กับราคาจำหน่ายหรือค่าบริการต้องเป็นภาษาไทย แต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได้
ข้อ ๔ กรณีที่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากราคาจำหน่ายสินค้าหรือ ค่าบริการที่ให้บริการที่แสดงไว้ตามข้อ ๓ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแสดงค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้ชัดเจน ครบถ้วนและเปิดเผย โดยแสดงไว้ควบคู่กับการแสดงราคาจำหน่ายสินค้าหรือค่าบริการที่ให้บริการ
ข้อ ๕ การแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าหรือค่าบริการที่ให้บริการตามข้อ ๓ ต้องแสดงให้ตรงกับราคาที่จำหน่าย หรือค่าบริการที่ให้บริการ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อต่ำกว่า ราคาจำหน่าย หรือค่าบริการที่แสดงไว้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
- ผู้ผลิต , ผู้จำหน่าย , ผู้ซื้อเพื่อจำหน่าย , ผู้นำเข้า หรือสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อื่นๆก็ได้
หากขยายความตามข่าวเมื่อสักครู่ ดูเหมือนจะไม่ระบุโทษเลย แต่ความจริงแล้ว ประกาศนี้ได้อ้างพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการมาตรา ๙(๕) ซึ่งให้อำนาจ กกร. สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการแสดงราคาสินค้าหรือบริการตามมาตรา ๒๘ อำนาจนี้มีผลทั้งประเทศ
และมาตรา ๒๘ โดยสรุปคือ สามารถบังคับให้แสดงราคาสินค้าและบริการแก่บุคคลต่อไปนี้
ถ้าบุคคลตามมาตรา ๒๘ นั้นไม่ทำตามก็มีการกำหนดโทษไว้ในมาตรา ๔๐ ระบุว่ามีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
หากพบสามารถแจ้งได้ที่ คณะกรรมการกลางส่วนจังหวัด, อนุกรรมการ , เลขาธิการ , พนักงานเจ้าหน้าที่ , เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา สรุปสั้นๆคือแจ้งพาณิชย์จังหวัด และท่านเหล่านี้สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ทันทีโดยไม่ต้องมีหมายจับ ตามมาตรา ๒๙ อีกด้วย
ดังนั้นผู้ค้าออนไลน์และ E-Commerce ต้องปรับตัวและปฏิบัติให้เข้ากับกฎหมายนี้ที่ตอนนี้เริ่มประกาศใช้แล้ว
VDO
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น